โครงงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุที่คนตากนิยมทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่มีมะพร้าวเป็นตัวหลัก ดังนั้นจึงมีกะลา มะพร้าวมาก และเค้าก็เอามาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทง
เมี่ยงอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ขึ้นชื่อของเมืองตากก็คือ เมี่ยงเต้าเจี้ยว บางทีก็เรียกกันว่า เมี่ยงคำเมืองตาก หรือ เมี่ยงจอมพล ที่เรียกว่าเมี่ยงจอมพลเนื่องจาก ในอดีตทุกครั้งที่ จอมพลถนอม กิตติขจร มาเมืองตาก จะต้องไปกินเมี่ยงชนิดนี้ที่ร้านคุณป้าคนหนึ่งเป็นประจำ จนชาวบ้านพากันเรียก ''เมี่ยงจอมพล” เศษส่วน/ส่วนประกอบของการทำเต้าเจี้ยว -มะพร้าวหั่นชิ้นเล็กๆ คั่ว 1 ถ้วย (300 กรัม) -กุ้งแห้งตัวเล็ก (ชนิดจืด) 1 ถ้วย (300 กรัม) -ถั่วลิสงคั่ว 1 ถ้วย (300 กรัม) -หอมแดงหั่นเหลี่ยมเล็กๆ ½ ถ้วย (50 กรัม) -ขิงหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ½ ถ้วย (50 กรัม) -มะนาวหั่นทั้งเปลือกสี่เหลี่ยมเล็กๆ ½ ถ้วย (60 กรัม) -พริกขี้หนูหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (กรณีคนชอบเผ็ด) 25 เม็ด (30 กรัม) -ใบชะพลู, ใบทองหลาง ชนิดละ 100 กรัม ขั้นตอนการทำ ให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน
วัตถถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเมี่ยงคำเมืองตาก และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับเมี่ยงคำเมืองตากของชาวเมืองตาก
2.เพื่ออนุรักษ์เมี่ยงคำเมืองตาก
ประโยชน์ที่ได้รับ
-ได้รับความรู้จากประสบการณ์จริง
-นำความรู้ที่ได้จากการเมี่ยงคำเมืองตากมาใช้ในด้านการอนุรักษ์การทำเมี่ยงคำของชาวจังหวัดตาก
วิธีการดำเนินงาน
1. พบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อวางแผนทำโครงร่าง
2. จัดทำโครงร่าง
3. สอบถามและค้นคว้าข้อมูลจากที่มาและผู้รู้ในท้องถิ่น
4. เรียบเรียงข้อมูลและทำรูปเล่มโครงงาน
5. นำเสนอโครงงาน
ประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของเมี่ยงคำเมืองตาก
เมี่ยงคำเมืองตากเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลหัวเดียดได้คิดค้นอาหารว่างไว้เพื่อรับประทานเล่น โดยคิดว่าควรจะนำสมุนไพรต่างๆมาทำเป็นอาหารว่าง จึงเกิดการทำเมี่ยงคำเมืองตากขึ้นมาและสืบทอดมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน ทำให้เกิดเป็นเมี่ยงคำเมืองตากที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากเมี่ยงคำเมืองตากมีการใส่เต้าเจี้ยวลงไปในเมี่ยงคำ
เมี่ยงเต้าเจี้ยว บางทีก็เรียกกันว่า เมี่ยงคำเมืองตาก หรือ เมี่ยงจอมพล ที่เรียกว่าเมี่ยงจอมพลเนื่องจาก ในอดีตทุกครั้งที่ จอมพลถนอม กิตติขจร มาเมืองตาก จะต้องไปกินเมี่ยงชนิดนี้ที่ร้านคุณป้าคนหนึ่งเป็นประจำ จนชาวบ้านพากันเรียก ''เมี่ยงจอมพล” อาชีพเสริมสร้างรายได้
การทำเมี่ยงคำเมืองตากเป็นการเสริมสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันเมี่ยงคำเมืองตากนั้นมีชื่อเสียงไปไกลถึงจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนหัวเดียดได้มาก
สรุปและอภิปรายผล
เมี่ยงคำเมืองตากมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนหัวเดียดที่คิดค้นเมี่ยงคำเมืองตากขึ้นมา ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการทำเมี่ยงคำเมืองตาก
เมี่ยงคำเมืองตากมีความแตกต่างจากเมี่ยงคำทั่วไปเพราะมีส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพรต่างๆและใส่เต้าเจี้ยวเมืองตากลงไป ทำให้เมี่ยงคำเมืองตากเป็นอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดตาก เพราะมีรสชาติที่อร่อยและเป็นเอกลักษณ์ของเมี่ยงคำเมืองตาก นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดตากอีกด้วย